เกี่ยวกับวิทยาลัย
ในปี 2545 มีมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2545 ให้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนจำนวน 10 จังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ได้ ศึกษาระดับอนุปริญญา ทำให้ประชาชนในชนบทที่อยู่ห่างไกลตัวจังหวัดมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูง เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง วิทยาลัยชุมชนได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2545 โดยประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้โอนจากวิทยาลัยการอาชีพบ้านไร่ สังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มาเป็นวิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี ตั้งอยู่ที่ 7 หมู่ 2 ตำบลห้วยแห้ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อันเป็นที่ตั้งเดิมของวิทยาลัยการอาชีพบ้านไร่ ซึ่งได้รับโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้เป็นวิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีเนื้อที่ประมาณ ๖๐ ไร่เศษ ประกอบด้วย อาคารอำนวยการ อาคารหอประชุม อาคารเรียน อาคารปฏิบัติการ โรงฝึกงานที่มีความสมบูรณ์ ครุภัณฑ์การศึกษาและบุคลากร ซึ่งได้รับการโอนมาจากวิทยาลัยการอาชีพบ้านไร่เดิม
วิสัยทัศน์
“ภายในปี 2563 วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานีจะเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน บนฐานความเป็นไทย ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาและสร้างโอกาส สร้างงานสร้างอาชีพ และนวัตกรรมสู่ชุมชน”
คำอธิบายวิสัยทัศน์
เอกลักษณ์วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี = วิทยาลัยคุณธรรม สร้างชุมชนเข้มแข็ง
อัตลักษณ์วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี = มีคุณภาพ มีคุณธรรม มีภาวะผู้นำ มีจิตสาธารณะ
วัตถุประสงค์
- ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการบริการศึกษาอย่างทั่วถึง
- ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาตนเอง พัฒนาทักษะวิชาการ วิชาชีพ และทักษะชีวิตให้มีความสมบูรณ์เต็มตามศักยภาพ
- ผู้เรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมและชุมชน
- บุคลากรมีศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ เป็นระบบและต่อเนื่อง
- หลักสูตรสนองความต้องการของท้องถิ่น
- ระดมทรัพยากรทางสังคม ชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
- ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดี คนเก่ง และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขมีความเป็นสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย
พันธกิจ
- จัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาลัยชุมชนระดับอนุปริญญาและอาชีวศึกษาและหลักสูตรที่หลากหลาย
- จัดการความรู้และเป็นแหล่งบริการ ทางวิชาการเพื่อสร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ชุมชน
- ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สู่ชุมชน
- อนุรักษ์สืบสานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- การบริหารจัดการเชิงธรรมาภิบาล
ปรัชญา
มีคุณธรรม นำความรู้ สู่ชุมชน
สีประจำวิทยาลัย
สีน้ำเงิน หมายถึง ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
สีแดง หมายถึง การรวมพลัง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ต้นไม้ประจำวิทยาลัย
ต้นมหาพรหมราชินี
142 total views, 1 views today